วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

งานแถลงข่าว

ละครสะท้อนปัญญาเปิดตัวแล้วอย่างคึกคัก สื่อสนใจทำข่าว ล้นทะลักมะขามป้อมสตูดิโอ
สดๆร้อนๆ มะขามป้อมได้ฤกษ์เปิดตัวโครงการใหญ่ ใหม่ล่าสุด “ละครสะท้อนปัญญา” หวังสร้างนักละครเลือดใหม่ประดับวงการละครเวทีไทย
ผูู้สื่อข่าวหน้าใหญ่ รายงานสดๆเพราะเพิ่งผ่านมาหยกๆเมื่อวันที่ 17 กันยา 51 จากมะขามป้อมสตูดิโอในวันเดียวกับที่มีการยกมือเลือกตั้งนายกคนใหม่ในสภาว่า มีงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการละครสะท้อนปัญญาด้วยการสนับสนุนเต็มกำลังจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) นักข่าวสื่อมวลชนจากหลายสำนักเริ่มทยอยมาถึงสตูดิโอกันในช่วงบ่ายๆ ท่ามกลางสายฝนโปรยปราย แล้วเริ่มต้นด้วยการกล่าวทักทาย โดยพิธีกรสาวสวยของงานนี้ จากรายการกบนอกกระลา แวนด้าหน้าเด็ก ดวงธิดา นครสันติภาพ อาสาสมัครศิษย์เก่าที่ไปได้ดิบได้ดีอีกคน ตามมาด้วยละครสั้นสะท้อนปัญญาและสังคม เรื่องเกมชีวิต GTA ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ นักเรียนม. 6 จี้แท้กซี่ เรื่องราวเบื้องหลังของสองชีวิตบนรถแท้กซี่คันนั้น ที่ไม่มีใครคิดจะสนใจ มากไปกว่าปรากฏการณ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ ด้วยฝีมือการแสดงอันยอดเยี่ยมของน้องโอ้ค และน้องเกรียง จากพระจันทร์เสี้ยวการละคร และ ริ้วรอยการกำกับอันเฉียบขาดของคุณประดิษฐ ศิษย์ศิลปาธรของเรานั่นเอง ทำเอาคนดูเงียบกริบไปทั้งโรงละคร (ไม่ใช่หลับแต่สัปหงกฮ่าๆๆๆ)
แล้วก็มาถึงช่วงเวลาสำคัญของรายการ คือ การเสวนา “พลังทางปัญญากับสถานการณ์เยาวชนในสังคมไทย” ด้วยแขกรับเชิญที่น่าสนใจมาก 4 ท่าน คือ
คุณหมอ บัญชา พงษ์พานิช ผู้อยู่เบื้องหลังผลักดันโครงการนี้ให้เป็นจริง
“สสส อยากผลักดันโครงการนี้เพราะเชื่อมั่นในพลังของเยาวชนว่าสามารถทำอะไรดีๆให้กับสังคมได้ เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นเหมือนการเล่นละครเป็นการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนสามารถสื่อสารเรื่องราวทางปัญญาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญจำเป็นกับสังคมในทุกวันนี้ เพราะจะเป็นทางออกไปสู่แสงสว่าง ส่วนละครนั้นเป็นมหรสพทางจิตวิณญาณของมนุษย์ เหมือนที่อาจารย์ของท่าน คือท่านพุทธทาสเคยสอนว่ามนุษย์ต้องการ”สิ่งประเล้าประโลม”ละครเป็นความบันเทิงทางปัญญาช่วยให้คนในสังคมมีความคิด มีความสุข จึงมาร่วมมือกับมะขามป้อมช่วยกันพัฒนาโครงการนี้ขึ้นมา
น้องเต้า กิตติพันธ์ กันจินะ ผู้อำนวยการ โครงการกล้าเลือกกล้ารับผิดชอบ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ประเทศไทย
โครงการนี้จะสร้างทางเลือกที่สร้างสรรค์ให้กับเยาวชน ทำอะไรที่ตัวเองสนใจ จากประสบการณ์ตัวเอง ที่เคยผ่านกระบวนการละครมาเต้าพบว่าละครไม่ใช่ทำให้เด็กเป็นคนดีแต่ช่วยทำให้มีช่องทางในการสื่อสารกความคิดกับเพื่อนๆในชุมชน ปัญญาคือการ คิดวิเคราะห์แยกแยะได้ ปัญญาที่เหมาะกับวัยรุ่นคือการลองผิดลองถูก เรียนรู้ด้วยตัวเอง และเชื่อว่าจะช่วยให้เด็กๆได้สนุกกับโครงการนี้แน่นอน
คุณเจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ ผู้รับบท “ดอน กิโอเต้แห่งลามันช่า” จากละครเวทีที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่”
บทละครดีๆช่วยให้คนดูมีความหวัง มีกำลังใจ อาจถึงขั้นเปลี่ยนแปลงชีวิต เช่นบทละครเรื่อง สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคนหลายคน ส่วนผู้ผลิตหรือผู้แสดง การได้ฝึกฝนการแสดงละคร การเคลื่อนไหว การใช้เสียง การตีความ จะช่วยให้ เรามีสติ สมาธิ เห็นแง่มุมบางอย่างไปสู่การเข้าใจตัวเอง หรือ ปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
คุณพี่ตั้ว ประดิษฐ ประสาททอง ผู้อำนวยการศิลปะของโครงการนี้ บอกว่า
ละครเวทีเป็นอิสระจากการหาเงินทุนและธุรกิจ จึงสามารถในการนำเสนอปัญญาให้กับสังคมได้ โครงการนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตให้กับผู้ชม นอกจากนั้นยังเน้นเปลี่ยนแปลงทัศนคติการมองโลกของเยาวชนผู้ผลิตละครในโครงการ มองเห็นศักยภาพในตัวเองเพราะเราเชื่อมั่นว่า คนทุกคนมีสิ่งดีๆซ่อนอยู่ ดังนั้นละครจะเป็นเวทีที่ทำให้สามารถดึงศักยภาพเหล่านั้นออกมา เป็นพลังทางบวกที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีร่วมกันต่อไป
สุดท้าย คุณก๋วย มะขามเม็ดโต หัวหน้าโครงการ ออกมาเล่าถึงรายละเอียดโครงการอย่างรวบรัด ก่อนที่นักข่าวจะรุมกันสัมภาษณ์ วิทยากรบนเวทีอย่างเมามัน
“อยากจะบอกว่าโครงการนี้เปิดรับสมัครน้องๆนักศึกษา ทุกคนที่มีความฝัน มีไฟ และ สนใจงานละคร รีบรวมตัวกันแล้วสมัครมาเลยอย่ารั้งรอเพราะเปิดรับสมัครถึง 15 ตุลาคม 51 เท่านั้น เรามีโอกาสดีๆเตรียมให้น้องๆทุกคนอยุ่ รับรองว่าจะเป็นประสยการณ์ล้ำค่าที่หาไ่ม่ได้งา่ยๆ ถ้าพลาดอาจต้องรออีกเป็นปี “ หัวหน้าโครงการกล่าวอย่างมีอารมณ์ …(ขัน)
สนใจติดต่อพี่ฝน หรือ u_drama@hotmail.com www.makhampom.net
บล้อค dramaspirit.blogspot.com

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

มะขามป้อมชวนโจ๋มาโชว์กึ๋น


ประกาศการรับสมัครโครงการละครระดับอุดมศึกษาเข้าร่วมโครงการ
“ละครสะท้อนปัญญา”
ปี 2551-2552
( เฉพาะสถาบันในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล)



ประกาศและรับสมัคร วันที่ 15 ตุลาคม 2551
พิจารณาผู้ร่วมโครงการ วันที่ 16 – 19 ตุลาคม 2551
ประกาศผล วันที่ 20 ตุลาคม 2551

(ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการอบรม)

ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนผลิตละคร
งบประมาณ30,000 บาท
..............................


โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาของเยาวชนด้วยศิลปะการละครครั้งนี้อยู่บนแนวคิดของโครงการ (Program concept) ที่เชื่อมั่นว่า กระบวนการละครจะเป็นวิธีการในการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาของเยาวชน และสร้างสุขภาวะปัญญาของสังคมได้ ด้วยยุทธวิธีต่างๆ ที่เน้นการเปลี่ยนแปลง (Transformation) จากภายในตัวของเยาวชน โดยเสริมพลัง (empowerment) คุณค่าเชิงบวก ด้วยฐานคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of change) ของกระบวนการละคร กล่าวคือ
การสร้างเสริมคุณค่าในตนเอง (Self esteem) ให้กับเยาวชน
การเปิดพื้นที่ และโอกาสให้เยาวชนค้นหาความสามารถเชิงบวก หรือ พหุปัญญา (Multiple intelligence) ในตนเอง
การค้นหาเป้าหมายของการดำเนินชีวิต การยอมรับรับฟังเพื่อคลี่คลายปัญหาความหม่นหมองคับข้องใจ และร่วมแสวงหาแนวทางดำเนินการที่ถูกต้อง
เป็นกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ในลักษณะกระบวนการทางปัญญา ที่มุ่งให้เกิดการรับรู้ความจริง รู้เหตุ รู้ผล มีความเข้าใจเท่าทันต่อตนเอง เท่าทันต่อสถานการณ์ ด้วยสติ ความคิดวิจารณญาณของตนเอง
เป็นพัฒนาการการเรียนรู้ของเยาวชนที่มาจากตัวเยาวชนเอง ในลักษณะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน ที่มุ่งหมายให้เกิดการรับรู้ (Reception) การเข้าใจ (Comprehension) และการเปลี่ยนแปลง (Transformation) ทัศนคติทางปัญญา คือ การคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง ,การไม่พึ่งพิงความสุขทางวัตถุอย่างเดียว ,การเชื่อมั่นในความเพียรของตน ไม่หวังลาภลอย คอยโชค ,รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นประโยชน์เกื้อกูล
มุ่งพัฒนาจิตอาสา ผ่านกระบวนการกลุ่ม เพื่อทำความดี ความงามเพื่อส่วนรวม โดยมีศิลปะการละครเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร และเผยแพร่ความจริง
นอกจากนี้การแสดงละครต่อสาธารณะ ยังสามารถสะท้อนความจริง และความหมายของชีวิต การตั้งคำถามต่อผู้ชมและสังคม ชี้ชวนให้ผู้ชมได้ทบทวนนึกคิด และย้อนมองดูตัวเอง หรืออาจกล่าวได้ว่ากิจกรรมการแสดงละครนั้นมุ่งสะท้อนปัญญา และปลุกปัญญาของสังคมด้วยอีกประการหนึ่ง

ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้สมัคร
1. ทีมละ 5 คนขึ้นไป
2. กำลังเรียนอยู่ในระดับอุดมศึกษา ( ไม่จำเป็นต้องสถาบันเดียวกัน)
3. สามารถเข้าร่วมอบรมพัฒนานักการละครรุ่นใหม่ ได้ตลอดทั้งโครงการ
4. กลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำการแสดงในมหาวิทยาลัยหรือชุมชนอย่างน้อย 3 รอบ
การคัดเลือก
ผู้สมัครต้องส่งเค้าโครงบทละคร ( Concept ) ความยาวไม่เกิน 45 นาที
กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ชมในมหาวิทยาลัย หรือ ในชุมชน
ไม่จำกัดรูปแบบการนำเสนอ (ละครเวที ละครเร่ ละครหุ่น ละครใบ้ ละครเด็ก )
ภายใต้แนวความคิด “พลังทางปัญญากับสถานการณ์เยาวชน”

การเขียนใบสมัคร

1.ชื่อทีม
2. ชื่อ-นามสกุลผู้สมัคร ( 3 คน )
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ที่อยู่/รหัสไปรษณีย์
E-mail
โทรศัพท์/โทรสาร
1.ผู้ประสานงาน





2.ผู้กำกับการแสดง





3.ผู้เขียนบทละคร






(กรุณาแนบสำเนาบัตรประชาชนและประวัติของผู้สมัครโดยย่อมาด้วย)

2. ส่งเค้าโครงละคร ประกอบด้วย
2.1 ชื่อเรื่อง
2.2 ประเภทละคร
2.3 วัตถุประสงค์
2.4 แก่นเรื่อง ( THEME
2.5 เรื่องย่อ 2.6 คำอธิบายความเกี่ยวข้องของละครกับแนวความคิด “พลังทางปัญญากับสถานการณ์เยาวชน”




สิทธิประโยชน์ที่โครงการที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับ
1 ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักการละครรุ่นใหม่ จากหลากหลายสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ
2 พัฒนาทักษะการผลิตละคร จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการละครจากวงการละคร
3 ได้รับคำแนะนำ เป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา ตลอดกระบวนการผลิตละครจากผู้เชี่ยวชาญด้านการละคร
4 เป็นเวทีการแสดงศักยภาพ เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเยาวชนด้วยพลังทางปัญญา
5 10 ทีมสุดท้ายที่ได้รับคัดเลือกมีโอกาสได้รับรางวัล “ละครสะท้อนปัญญายอดเยี่ยม”



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและส่งเอกสาร
คุณ ภัทรภร เกิดจังหวัด (ฝน)
ผู้ประสานงานโครงการเยาวชน
กลุ่มละครมะขามป้อม 55 ซ. อินทามระ 3 ถ.สุทธิสาร สามเสนใน พญาไท กทม 10400
โทร 087-9942381 / 02-616-8473 โทรสาร 02-616-8474

Email
u_drama@hotmail.com
www.makhampom.net
เวบบล้อค dramaspirit.blogspot.com