วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

มะขามป้อมชวนโจ๋มาโชว์กึ๋น


ประกาศการรับสมัครโครงการละครระดับอุดมศึกษาเข้าร่วมโครงการ
“ละครสะท้อนปัญญา”
ปี 2551-2552
( เฉพาะสถาบันในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล)



ประกาศและรับสมัคร วันที่ 15 ตุลาคม 2551
พิจารณาผู้ร่วมโครงการ วันที่ 16 – 19 ตุลาคม 2551
ประกาศผล วันที่ 20 ตุลาคม 2551

(ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการอบรม)

ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนผลิตละคร
งบประมาณ30,000 บาท
..............................


โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาของเยาวชนด้วยศิลปะการละครครั้งนี้อยู่บนแนวคิดของโครงการ (Program concept) ที่เชื่อมั่นว่า กระบวนการละครจะเป็นวิธีการในการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาของเยาวชน และสร้างสุขภาวะปัญญาของสังคมได้ ด้วยยุทธวิธีต่างๆ ที่เน้นการเปลี่ยนแปลง (Transformation) จากภายในตัวของเยาวชน โดยเสริมพลัง (empowerment) คุณค่าเชิงบวก ด้วยฐานคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of change) ของกระบวนการละคร กล่าวคือ
การสร้างเสริมคุณค่าในตนเอง (Self esteem) ให้กับเยาวชน
การเปิดพื้นที่ และโอกาสให้เยาวชนค้นหาความสามารถเชิงบวก หรือ พหุปัญญา (Multiple intelligence) ในตนเอง
การค้นหาเป้าหมายของการดำเนินชีวิต การยอมรับรับฟังเพื่อคลี่คลายปัญหาความหม่นหมองคับข้องใจ และร่วมแสวงหาแนวทางดำเนินการที่ถูกต้อง
เป็นกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ในลักษณะกระบวนการทางปัญญา ที่มุ่งให้เกิดการรับรู้ความจริง รู้เหตุ รู้ผล มีความเข้าใจเท่าทันต่อตนเอง เท่าทันต่อสถานการณ์ ด้วยสติ ความคิดวิจารณญาณของตนเอง
เป็นพัฒนาการการเรียนรู้ของเยาวชนที่มาจากตัวเยาวชนเอง ในลักษณะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน ที่มุ่งหมายให้เกิดการรับรู้ (Reception) การเข้าใจ (Comprehension) และการเปลี่ยนแปลง (Transformation) ทัศนคติทางปัญญา คือ การคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง ,การไม่พึ่งพิงความสุขทางวัตถุอย่างเดียว ,การเชื่อมั่นในความเพียรของตน ไม่หวังลาภลอย คอยโชค ,รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นประโยชน์เกื้อกูล
มุ่งพัฒนาจิตอาสา ผ่านกระบวนการกลุ่ม เพื่อทำความดี ความงามเพื่อส่วนรวม โดยมีศิลปะการละครเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร และเผยแพร่ความจริง
นอกจากนี้การแสดงละครต่อสาธารณะ ยังสามารถสะท้อนความจริง และความหมายของชีวิต การตั้งคำถามต่อผู้ชมและสังคม ชี้ชวนให้ผู้ชมได้ทบทวนนึกคิด และย้อนมองดูตัวเอง หรืออาจกล่าวได้ว่ากิจกรรมการแสดงละครนั้นมุ่งสะท้อนปัญญา และปลุกปัญญาของสังคมด้วยอีกประการหนึ่ง

ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้สมัคร
1. ทีมละ 5 คนขึ้นไป
2. กำลังเรียนอยู่ในระดับอุดมศึกษา ( ไม่จำเป็นต้องสถาบันเดียวกัน)
3. สามารถเข้าร่วมอบรมพัฒนานักการละครรุ่นใหม่ ได้ตลอดทั้งโครงการ
4. กลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำการแสดงในมหาวิทยาลัยหรือชุมชนอย่างน้อย 3 รอบ
การคัดเลือก
ผู้สมัครต้องส่งเค้าโครงบทละคร ( Concept ) ความยาวไม่เกิน 45 นาที
กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ชมในมหาวิทยาลัย หรือ ในชุมชน
ไม่จำกัดรูปแบบการนำเสนอ (ละครเวที ละครเร่ ละครหุ่น ละครใบ้ ละครเด็ก )
ภายใต้แนวความคิด “พลังทางปัญญากับสถานการณ์เยาวชน”

การเขียนใบสมัคร

1.ชื่อทีม
2. ชื่อ-นามสกุลผู้สมัคร ( 3 คน )
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ที่อยู่/รหัสไปรษณีย์
E-mail
โทรศัพท์/โทรสาร
1.ผู้ประสานงาน





2.ผู้กำกับการแสดง





3.ผู้เขียนบทละคร






(กรุณาแนบสำเนาบัตรประชาชนและประวัติของผู้สมัครโดยย่อมาด้วย)

2. ส่งเค้าโครงละคร ประกอบด้วย
2.1 ชื่อเรื่อง
2.2 ประเภทละคร
2.3 วัตถุประสงค์
2.4 แก่นเรื่อง ( THEME
2.5 เรื่องย่อ 2.6 คำอธิบายความเกี่ยวข้องของละครกับแนวความคิด “พลังทางปัญญากับสถานการณ์เยาวชน”




สิทธิประโยชน์ที่โครงการที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับ
1 ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักการละครรุ่นใหม่ จากหลากหลายสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ
2 พัฒนาทักษะการผลิตละคร จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการละครจากวงการละคร
3 ได้รับคำแนะนำ เป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา ตลอดกระบวนการผลิตละครจากผู้เชี่ยวชาญด้านการละคร
4 เป็นเวทีการแสดงศักยภาพ เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเยาวชนด้วยพลังทางปัญญา
5 10 ทีมสุดท้ายที่ได้รับคัดเลือกมีโอกาสได้รับรางวัล “ละครสะท้อนปัญญายอดเยี่ยม”



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและส่งเอกสาร
คุณ ภัทรภร เกิดจังหวัด (ฝน)
ผู้ประสานงานโครงการเยาวชน
กลุ่มละครมะขามป้อม 55 ซ. อินทามระ 3 ถ.สุทธิสาร สามเสนใน พญาไท กทม 10400
โทร 087-9942381 / 02-616-8473 โทรสาร 02-616-8474

Email
u_drama@hotmail.com
www.makhampom.net
เวบบล้อค dramaspirit.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น: